MILKKIZZ*

วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2553

พลาสติกชีวภาพย่อยสลายได้

พลาสติกชีวภาพย่อยสลายได้ (วารสารตลาดสีเขียว)

โดย ไผ่พิม

ในโลกยุคนี้คงต้องยอมรับว่าพลาสติกเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตของคนเราอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยงแม้แต่ความสวยงามแห่งธรรมชาติก็ยังมีดอกไม้พลาสติกมาลอกเลียนแบบได้

จากการเสวนา "ตายผ่อนส่ง... จากวิถีการกิน และสารเคมี สู่อาหารปลอดภัยเกษตรอินทรีย์"ดร.สุนีย์ เตชะอาภรณ์กุบ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้บอกเล่าถึงโทษภัยจากภาชนะใส่อาหารที่ทำจากพลาสติกประเภทต่าง ๆ โดยเฉพาะถ้วยจานชามเมลามีนที่คนไทยเรานิยมใช้แต่แฝงไว้ด้วยสารพิษ ถ้านำมาใส่อาหารร้อนก็จะละลายฟอร์มาลดีไฮด์ (น้ำยาฟอร์มาลินที่ใช้ดองศพ) หากปนเปื้อนในปริมาณมากมีพิษเฉียบพลันทำให้คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ส่งผลระยะยาวก่อมะเร็ง ซึ่งนี่คือสิ่งที่ทุกคนควรรับรู้ และตระหนักถึงพิษภัยใกล้ตัว แล้วเราจะหลีกพ้นจากพลาสติกมากพิษภัยได้อย่างไร?

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ริเริ่มโครงการยุทธศาสตร์นวัตกรรมด้านพลาสติกชีวภาพมาตั้งแต่ปี 2547 โดยร่วมมือกับบริษัทสงวนวงษ์อุตสาหกรรม จำกัด ผู้ผลิตแป้งมันสำปะหลังชั้นนำของประเทศ ศึกษาและวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการพัฒนาให้เกิดอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพจากพืชผลเกษตรของไทย และส่งเสริมภาคเอกชนที่ใส่ใจในสิ่งแวดล้อมร่วมโครงการจนปัจจุบันเราสามารถทำผลิตภัณฑ์ขึ้นรูปเป็นพลาสติกชีวภาพย่อยสลายได้ (Biodegradable Plastics)

พลาสติกชีวภาพย่อยสลายได้ (Biodegradable Plastics) เป็นพลาสติกที่ผลิตจากพืช เช่น ข้าวโพด มันสำปะหลัง มันฝรั่ง ข้าว และอ้อย เป็นต้น โดยมีกระบวนการผลิตจากการใช้เอนไซม์ย่อยแป้งให้เป็นน้ำตาลกลูโคส แล้วนำไปหมักให้ได้เป็นกรมแลคติก จากนั้นนำไปผ่านกระบวนการพอลีเมอร์ไรเซชั่น (Polymerization) ก็จะได้เม็ดพลาสติกชีวภาพที่สามารถย่อยสลายได้ หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปคือ PLA (Polylactic Acid) ซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษสามารถย่อยสลายเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ เมื่อนำไปฝังกลบในดินภายหลังการใช้งาน

ตั้งแต่วัตถุดิบที่ใช้สำหรับกระบวนการผลิตจนถึงการกำจัดทำให้พลาสติกชีวิภาพย่อยสลายได้มีคุณสมบัติเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและนี่คือการคิดค้นสร้างสรรค์เพื่อชีวิต เพื่อโลกอย่างแท้จริง...


ที่มา http://icare.kapook.com/content_detail.php?t_id=0&id=2833

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น