MILKKIZZ*

วันเสาร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ลิ้นและการรับรส

ลิ้นเป็นอวัยวะในช่องปาก ทำหน้าที่ช่วยคลุกเคล้าอาหารและรับความรู้สึกเกี่ยวกับรสชาติของอาหาร การที่ลิ้นสามารถรับรู้รสชาติของอาหารได้นั้น เพราะมีอวัยวะในการรับรู้รส เรียกว่า ตุ่มรับรส (taste buds) อยู่บนลิ้น





ตุ่มรับรส

มีลักษณะกลมรี ประกอบด้วยเซลล์รูปทรงกระสวย และปลายเส้นประสาทที่รับรู้รสสามเส้น ตุ่มรับรส มีหลายแบบ เช่น

1. ตุ่มรูปเห็ด (Fungiform papilla) นูนคล้ายเห็ด บนลิ้นคนมี 300 400 ตุ่ม มักอยู่ข้างๆลิ้นบริเวณที่เป็นจุดแดงๆ

2. ตุ่มรูปใบไม้ (Foliate papilla) เป็นสันเล็กๆ อยู่ตอนโคนลิ้น

3. Vallate หรือ Circumvallate papilla เป็นปุ่มที่บริเวณโคน มีร่องล้อมรอบทำให้ทั้งอาหารและน้ำย่อยค้างอยู่ได้นาน และมีตุ่มรับรสอยู่บริเวณ แอ่งโคนร่อง

ตุ่มรับรสส่วนใหญ่พบที่ด้านหน้า และด้านข้างของลิ้น ส่วนบนของต่อมทอนซิล เพดานปาก และหลอดคอ พบเป็นส่วนน้อย
จาก การทดลองแล้วปรากฎว่า ตุ่มรับรสมีอย่างน้อยที่สุด ประมาณ 4 ชนิดด้วยกัน ซึ่งจะคอยรับรสแต่ละอย่าง คือ รสหวาน รสเค็ม รสขม รสเปรี้ยว

ตุ่มรับรสเหล่านี้อยู่ตามบริเวณต่างๆ บนลิ้น ดังภาพ





การรู้รส

การ รู้รสเป็นความรู้สึกที่เกิดได้โดยปฎิกริยาทางเคมี คือ เมื่ออาหารเข้าสู่ปาก อาหารก็จะทำปฎิกิริยากับน้ำย่อยและน้ำลายในปาก เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี ซึ่งกระตุ้นให้ตุ่มรับรสที่รับการเปลี่ยนแปลงทางเคมี รับรู้ถึงรสชาติของอาหาร แล้วส่งความรู้สึกผ่านเส้นประสาทสมองสามเส้นเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลาง เพื่อแปลความหมายที่สมองว่าเป็นรสอะไร และแปลความหมายว่าร้อนหรือเย็นได้ด้วย

มนุษย์สามารถแยกการรู้รสต่างๆ ได้อย่างง่ายๆ 4 รส ด้วยกันคือ

1. รสหวาน(sweet) เกิดจากสารเคมีหลายชนิด ได้แก่ น้ำตาล แอลกอฮอล์ กรดอะมิโน และเกลืออนินทรีย์ของตะกั่ว

2. รสเค็ม(salty) เกิดจากอณูของเกลือ

3. รสขม(bitter) เกิดจากสารสองชนิดโดยเฉพาะ คือ
3.1 สารอินทรีย์ที่มีโมเลกุล
3.2 พวกอัลคาลอยด์ ซึ่งได้แก่ยาหลายชนิด เช่น ควินิน กาเฟอีน สตริกนิน เป็นต้น

4. รสเปรี้ยว(sour) เกิดจากความเป็นกรด
จาก การทดสอบความไวในการรับรู้รสชนิดต่างๆ พบว่า มนุษย์มีความรู้สึกเกี่ยวกับรสได้ไวที่สุด ซึ่งคาดคะเนว่าเป็นกลไกตามธรรมชาติที่มีป้องกันตัว โดยสังเกตได้จาก การกินอาหารที่มีรสขมมากๆ มนุษย์หรือสัตว์จะคายอาหารออก ซึ่งนับว่าเป็นผลดี เพราะสารพิษหลายอย่างในธรรมชาติมีรสขมจัด


การดูแลรักษาลิ้น

ใน ยามปกติ เราก็ควรระวังรักษาลิ้นมิให้เป็นโรคหรืออันตรายต่างๆ ด้วยการทำความสะอาดลิ้นอยู่เสมอ เวลากินอาหารควรค่อยๆ เคี้ยว ไม่ควรรีบร้อน เพราะอาจกัดลิ้นตนเองเป็นแผลได้และไม่ควรกินอาหารที่ร้อนมากๆ หรืออาหารที่มีรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด เพราะทำให้ลิ้นชาได้ หมั่นสังเกตว่าลิ้นเป็นฝ้าขาว หรือเป็นแผลหรือไม่

ถ้ามีอาการผิดปกติดังกล่าวก็ควรรีบรักษา
เมื่อ เราไม่สบาย ลิ้นจะมีฝ้าขาว ทำให้ไม่รู้รส จึงกินอาหารไม่อร่อย และเบื่ออาหาร ถ้าไม่สบายต้องดื่มน้ำบ่อยๆ กินอาหารที่มีประโยชน์ และพักผ่อนให้เพียงพอ

ที่มา http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=bio1st&month=08-2009&date=18&group=7&gblog=3

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น