
ไฮเทคมาก ๆ ระวังป่วยนะจ๊ะ (Lisa)
อย่า มัวแต่เล่นเกมปลูกผักใน Facebook หรือเสิร์ชหาข้อมูลใน Google แถมยังแซวเพื่อนคนนั้นคนนี้ใน Twitter เผลอ ๆ แอบส่งเมสเซจผ่าน BlackBerry จนวัน ๆ แทบไม่ทำอะไร เพราะไลฟ์สไตล์แสนไฮเทคแบบนี้อาจจูงโรคเข้ามาหาเราได้อย่างไม่น่าเชื่อ
สาว Twitter ตัวยงเห็นจะมีตั้งแต่คู่รักอย่าง เดมี่ มัวร์ และ แอชตัน คุทเชอร์ ไปจนถึงนักแสดงสาว มิสชา บาร์ตัน และนักร้องแสบซ่าอย่าง บริตนีย์ สเปียร์ส หรือผู้อำนวยการสร้างชื่อกระฉ่อน จอร์จ ลูคัส นักปั่นแข้งทอง แลนซ์ อาร์มสตรอง รวมถึง ไมเคิล เฟลป์ส นักว่ายน้ำผู้ล่าเหรียญทองกีฬาโอลิมปิกหลายต่อหลายเหรียญ
แต่ ใช่ว่าจะมีแค่เหล่าคนดังเท่านั้นที่คลั่งไคล้โลกของความไฮเทค เพราะเราเองก็แทบคลั่งกับกระแสการใช้ Facebook Twitter และ BlackBerry โดยหารู้ไม่ว่าความไฮเทคแบบนี้ แอบซ่อนความเสี่ยงเอาไว้อย่างมิดชิด
ป่วยกาย...เพราะไฮเทคมากเกินไป
ใครที่วัน ๆ เอาแต่นั่งเสิร์ชข้อมูลในคอมพิวเตอร์ ไม่ก็เล่นเกมใน Facebook แถมยังต้องก้มคอลงกดปุ่มใน BlackBerry แซวกับเพื่อน ๆ ใน Twitter ทั้งวี่ทั้งวัน เรากำลังจะบอกว่าคุณมีสิทธิ์ป่วยด้วยโรคเหล่านี้...





ป่วยใจ...เพราะหมกมุ่น
น้อย คนนักจะรู้ถึงผลของความไฮเทคที่มีต่อจิตใจ ซึ่งถ้าเราใส่ใจกับสุขภาพทางใจสักนิด ก็อาจจะไม่ต้องเสียใจกับโรคที่เราอาจป่วยอยู่ก็ได้

อย่างไรก็ดี โรค Internet Addiction เป็นโรคที่คนส่วนใหญ่อาจมองข้าม เพราะคิดว่าวันหนึ่งมีถึง 24 ชั่วโมง แต่ถ้าเราใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการนี้ เราจะละเลยสิ่งอื่น ๆ เช่น การออกกำลังกาย การเข้าสังคม และการปฏิสัมพันธ์กับคนในครอบครัว จนเกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา อย่างเช่น ป่วยเป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน หรือห่างเหินกับคนในครอบครัว ฉะนั้นเราควรรู้จักแบ่งเวลาว่าเวลานี้ใช้อินเทอร์เน็ต เวลานั้นออกกำลังกายหรือไปทำกิจกรรมอื่น ๆ

อีกอย่างการอยู่แต่ในโลกไซเบอร์ ยังทำให้คนคนนั้นขาดทักษะทางสังคมหรืออีคิวต่ำ เพราะการมีเพื่อนแชตในโลกไซเบอร์ หาใช่การมีมิตรภาพที่แท้จริงไม่ เพราะเมื่อเราทุกข์ใจ คนในไซเบอร์ไม่สามารถเข้ามาตบบ่า หรือปลอบประโลมเราได้ หรือเมื่อเราสุขใจ เพื่อนเหล่านี้ก็ไม่สามารถเดินเข้ามาจับมือแสดงความยินดีกับเราได้ เพราะเพื่อนในอินเทอร์เน็ตนั้นเรารู้จักกันอย่างผิวเผิน และมิตรภาพที่แท้จริงจำเป็นต้องมีอะไรมากกว่าการแชตออนไลน์ หรือบีบีหากัน ที่สำคัญการหล่อหลอมบุคลิกภาพของคนคนหนึ่งขึ้นมา ต้องอาศัยการปฏิสัมพันธ์กับคนในสังคมมากกว่าการออนไลน์คุยกัน

คนที่เข้าข่ายมีพฤติกรรมผิดปกติจะมีอาการไม่สู้ตาคน ไม่รู้จักการสื่อสารแบบตัวต่อตัวมีปัญหาเรื่องการเข้าสังคม ถ้าเป็นเด็ก ๆ จะมีปัญหาเรื่องการเรียน ซึ่งพ่อแม่ควรพาเด็กไปพบจิตแพทย์

แม้ โลกจะหมุนไวสักแค่ไหน ความไฮเทคจะมีอิทธิพลต่อเรามากเช่นไร แต่เราก็ควรใส่ใจสักนิดว่า เรากำลังวิ่งตามโลกดิจิตอลใบนี้ จนหลงลืมเรื่องสุขภาพกายและใจไปหรือเปล่า
ขาแชตทั้งหลายฟังทางนี้!
มารู้จักโรค Computer Vision Syndrome กันดีกว่า โดยเป็นโรคที่เกิดกับคนที่ใช้คอมพิวเตอร์นาน ๆ ทำให้ปวดกระดูกข้อมือ ซึ่งหากถ้านั่งผิดท่าจะมีอาการเจ็บปวดกล้ามเนื้อ และเกิดอาการปวดตา แสบตา ตามัว บางคนมีอาการปวดหัวร่วมด้วย ยิ่งถ้าจ้องคอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานาน จะยิ่งพัฒนาไปสู่โรค Computer Vision Syndrome ได้
Did You Know
ผลสำรวจของฝั่งมะกันออกมาบอกว่า 10% ของคนที่เล่นอินเทอร์เน็ตมากเกินไป มีปัญหาเกี่ยวกับชีวิตส่วนตัวของเขา ซึ่งเด็กส่วนใหญ่จะมีปัญหาขาดเรียน เพราะมัวแต่ใช้เวลาอยู่ที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งผู้ผลิตเกมในปัจจุบันเพิ่มฟังก์ชั่นให้เกมสามารถเล่นได้หลายคน และซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ทำให้ผู้ที่เล่นเกมหยุดเล่นไม่ได้ เพราะติดเกมอย่างงอมแงม
Must Know!
เชื่อมั้ยว่าการอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์นานเกินไปอาจพัฒนาไปสู่โรคภูมิแพ้ได้ ทั้งนี้ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ระบุว่า สารเคมีจากจอคอมพิวเตอร์ที่ชื่อว่า Triphenyl Phosphate ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ได้ ซึ่งสารเคมีนี้จะมีทั้งในจอวิดีโอและจอคอมพิวเตอร์ ทำให้ผู้ใช้เกิดอาการคัดจมูก คัน ปวดหัว ยิ่งจอคอมพิวเตอร์ร้อนมากเท่าใด ก็จะยิ่งปล่อยสารเคมีดังกล่าวออกมา และถ้าเราทำงานในห้องอับ ๆ ก็จะยิ่งเป็นตัวเร่งให้เรามีปัญหาโรคภูมิแพ้ได้
ความคิดเห็นจาก นพ.ดิตถพงษ์ บุญอำพล แพทย์ศูนย์สมองและระบบประสาทโรงพยาบาลปิยะเวท
"นอกจากโรคทางกายและโรคทางใจแล้ว คนที่เล่นเกมในอินเทอร์เน็ตมาก ๆ จะเห็นว่าความรุนแรงเป็นเรื่องปกติ พอออกไปสู่สังคมก็คิดว่าเรื่องความรุนแรงเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ ประกอบกับที่ผ่านมาเขาไม่เคยสัมผัสกับคนอื่น คือเรื่องการสื่อสารระหว่างบุคคลไม่มี เวลาทำอะไรก็นึกถึงตัวเองเป็นใหญ่ คิดจะทำอะไรก็ออกมาในรูปของความก้าวร้าวรุนแรง ซึ่งถ้าคนในสังคมเริ่มมีความรุนแรงมากขึ้น ก็ถือเป็นโรคของสังคมที่รักษาได้ยากกว่าโรคของคนคนเดียว"
ที่มา http://health.kapook.com/view9838.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น